วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีแผนภูมิ..

แผนภูมิ

ลักษณะของแผนภูมิที่ดี

 - เป็นแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนหรือยุ่งยาก
 - แสดงแนวความคิดเพียงแนวคิดเดียว
 - เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย ตรงกัวัตถุประสงค์
 - สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน สร้างความประทับใจ
- มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับกลุ่มผู้เรียน
- ใช้สีเรียบๆ เพียง 2-3 สี หรือใช้เพื่อเน้นความสนใจ

- ตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นแบบที่อ่านง่าย ประณีตบรรจงและควรเป็นแบบเดียวกัน
  - นอกจากต้องการเน้น
 - ชื่อเรื่องและเนื้อหาควรสอดคล้องกับภาพและใช้ตัวอักษรที่โตกว่าคำบรรยาย
 - คำบรรยายควรใช้ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด
 - สัญลักษณ์หรือรูปภาพควรเป็นแบบง่ายๆ ไม่แสดงรายละเอียดมากนัก

ประโยชน์ของแผนภูมิต่อการเรียนการสอน 



ใช้นำเข้าสู่บทเรียน จะช่วยกระตุ้นหรือ เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจ มาสู่เนื้อหา ที่กำลังจะเริ่มต้นใช้ ประกอบการอธิบาย แผนภูมิช่วยให้รายละเอียดของเนื้อหา ได้ชัดเจนกว่าคำอธิบาย ที่เป็นนามธรรมให้มี ความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติม ใช้คู่กับสื่อการสอนประเภทอื่นๆ อาจเป็นในรูปแบบของสื่อประสม ใช้สรุปหรือทบทวนบทเรียน ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียน

การใช้แผนภูมิประกอบการเรียนการสอน 


- เลือกใช้แผนภูมิที่ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอน
- เตรียมห้องเรียน และเตรียมผู้เรียนโดยให้ศึกษาเนื้อหาล่วงหน้า
- เสนอแผนภูมิอย่างช้าๆ อธิบายให้ละเอียดและชัดเจน
- ควรใช้ไม้ชี้ประกอบการอธิบาย
- ใช้สื่อการสอนอื่นประกอบการใช้แผนภูมิด้วย
- ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการหาข้อมูลหรือจัดทำแผนภูมิ
- หลังสิ้นสุดการสอนควรทดสอบความเข้าใจ และติดแผนภูมิไว้ในห้องเรียนสักระยะหนึ่ง
- ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการย้ำเน้นของ
แผนภูมิและยังช่วยให้การสรุปบทเรียนมีคุณค่ายิ่งขึ้น

แผนภูมิ หมายถึง ทัศนะวัสดุที่ใช้ เส้น อักษร หรือภาพ เพื่อแสดงความ สัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆช่วยให้ง่ายต่อความเข้าใจ    แผนภูมิแบ่งออกเป็น 9 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน มีประโยชน์ต่อการใช้สอยที่แตกต่างกันออกไป   
แผนภูมิแบ่งออกได้ 9 ชนิด คือ

แผนภูมิตาราง (Tabular Charts)


แผนภูมิตาราง (Tabular Charts) ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลา กับเหตุการณ์ เช่น ตารางเรียน ตารางเวลารถไฟเข้าออก เป็นต้น
แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
( Illustrative Charts)

       เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยใช้รูปภาพและคำบรรยายไปยังภาพ หรือใช้หมายเลขกำหนดไว้ในภาพ แล้วเขียนคำบรรยายกำกับหมายเลขไว้อีกส่วนหนึ่งก็ได้ เช่น แสดงส่วนต่างๆของพืช ของมนุษย์ ของสัตว์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทรงตัวละคร เป็นต้น ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ ใช้ภาพที่เหมือนของจริง

แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)

แผนภูมิแบบต้นไม้ (Tree Charts)  ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเหมือนกับการแตกแขนงของกิ่งก้านของต้นไม้ โดยยึดหลักการแตกของกิ่งก้านเป็นหลัก หรือแนวเส้นของแผนภูมิ โดยจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งหนึ่งสามารถจำแนกออกเป็นส่วนย่อยได้อีกหลายส่วน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งออกไป เช่น การคมนาคมมี 3 ทางคือทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น

แผนภูมิแบบสายธารา ( Stream Charts)

แผนภูมิแบบสายธารา( Stream Charts) ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเปรียบเหมือนกับการรวมตัวของลำธารน้ำกลายเป็นลำคลอง และแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจากหลายสิ่งรวมกัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น คอมพิวเตอร์เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล เป็นต้น

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ
 ( Comparison Charts )

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ( ComparisonCharts)  เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่   เป็นต้น

แผนภูมิแบบองค์การ
( Organization Charts)

แผนภูมิแบบองค์การ ( Organization Charts )เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น

แผนภูมิแบบต่อเนื่อง
( Flow Charts )

แผนภูมิแบบต่อเนื่อง ( Flow Charts)ใช้แสดงเรื่องราว กิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ

แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
( Developmental Charts )

แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ( Developmental Charts)  แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก

ตัวอย่าง   แผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ 1850 กล้องถ่ายภาพ ใช้วิธีการปรับโฟกัส แบบเบลโล่ขนาดของ กล้องมีขนาดใหญ่มาก 1900 กล้องมีขนาดเล็กลง เป็นกล้องแบบที่ ช่องมองภาพ กับช่องถ่ายภาพ เป็นคนละช่องกัน 1965 กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการ เมื่อถ่ายภาพ  จะสามารถ ได้ภาพที่ถ่ายในทันที เรียกว่ากล้องโพรารอยด์ 1998 กล้องถ่ายภาพมีวิวัฒนาการเป็นแบบ Single Lens Reflex



แผนภูมิขยายส่วน ( Enlarging Charts

แผนภูมิขยายส่วน (EnlargingChartsz) เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ   ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น